FAQs
คำถามที่พบบ่อย
ช่องทางติดต่อขอรับบริการ
- ลงทะเบียนรับบริการติดตั้งโซลาร์
- ติดต่อสำนักงาน PEA ทั่วประเทศ
- 1129 PEA Contact Center
- สำนักงาน PEA ใกล้บ้านท่าน
- 1129 PEA Contact Center
ผลิตภัณฑ์ของเรา
PEA SOLAR มีผลิตภัณฑ์ที่ให้ลูกค้าเลือกได้ทั้ง แผงโซลาร์ (Solar Panel) และอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำ และได้มาตรฐาน ทั้ง มอก. และ IEC ดังนี้
แผงโซลาร์ (Solar Panel) ที่ผลิตในประเทศจีน
- Runery (รันเนอร์รี)
- ZNshine (แซดเอ็นไชน์)
- LONGI (ลองกิ)
แผงโซลาร์ (Solar Panel) ที่ผลิตในประเทศไทย
- Fullsolar (ฟูลโซลาร์)
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่ผลิตในประเทศจีน
- Huawei (หัวเว่ย)
- Solar Edge (โซลาร์เอจ)
- Hoymiles (ฮอยไมลส์)
- KSTAR (เค สตาร์)
- SUNGROW (ซันโกรว)
- GROWATT (โกรวัตต์)
โดยลูกค้าสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ ที่นี่ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการติดตั้ง
- รับประกันทางกายภาพ/ ทางโครงสร้างเฉลี่ย 12 ปี
- รับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 80 % นาน 25 ปี
- กรณีชำรุดระหว่างประกัน เปลี่ยนทดแทนให้ภายใน 15 วัน
- รับประกัน 10 ปี กรณีชำรุดระหว่างประกัน จะเข้าเปลี่ยนทดแทนให้ภายใน 15 วัน
- รับประกันการติดตั้ง 2 ปี หรือ ขึ้นอยู่กับที่โบรชัวร์กำหนด หากมีการเปลี่ยนแปลง /ดัดแปลงการใช้งาน จะหมดระยะเวลาประกันทันที
มีบริการบำรุงรักษาหลังติดตั้ง 2 ปี ปีละ 1 ครั้ง
- สามารถดำเนินการเองได้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดจากการผลิตไฟฟ้าด้วย
- ควรล้างแผงในช่วงที่ไม่ค่อยมีแสงแดด เพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์
ระบบ On-grid
เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อร่วมกับระบบของการไฟฟ้า (ไม่ว่าจะขายไฟคืนหรือไม่)
ข้อดี – มีไฟฟ้าใช้แน่นอน เนื่องจากไฟฟ้าจากระบบของ PEA จะไหลเข้าเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ ไม่สามารถผลิตไฟได้ เช่น ช่วงเวลามีเมฆบังหรือไม่มีแดด
ข้อเสีย – ถ้าไฟจากการ PEA ดับ ระบบไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ก็จะดับไปด้วย
ระบบ Off-grid
เป็นระบบโซลาร์เซลล์ ที่ไม่ได้เชื่อมต่อร่วมกับระบบของ PEA ซึ่งระบบดังกล่าวจะต้องมีแบตเตอรี่ต่อร่วมใช้งานด้วย โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนที่เกินจากการใช้งานจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ทั้งนี้การเลือกขนาดและจำนวนแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง
ข้อดี – เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบของ PEA ยังเข้าไม่ถึง
ข้อเสีย – ต้องติดตั้งร่วมกับแบตเตอรี่ซึ่งจะมีต้นทุนสูง และไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะขึ้นอยู่กับขนาดแบตเตอรี่
PEA เปลี่ยนทดแทนให้ หากพิสูจน์ได้ว่าการชำรุดของผลิตภัณฑ์เกิดจากภัยธรรมชาติ
แพ็กเกจติดตั้ง
แพ็กเกจติดตั้งเริ่มต้นตั้งแต่ขนาดติดตั้ง 3-5-10-15-20 kW โดยจะแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
1. แบบ Standard (String Inverter)
2. แพ็กเกจ Standard + Rapid Shutdown
3. แพ็กเกจ Standard + Power Optimizer
4. แพ็กเกจ Micro Inverter
- ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดราคาแพ็กเกจ / ค่าไฟที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อเดือน / การเลือกใช้อุปกรณ์(แผงและอินเวอร์เตอร์) ได้ ที่นี่
- กฟภ. สำรวจก่อนการติดตั้งให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- กรณีที่ขนาดติดตั้งที่ลูกค้าต้องการอยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้โบรชัวร์ PEA จะทำการสำรวจและประมาณการค่าติดตั้งตามความเหมาะสมของพื้นที่ติดตั้งจริง และพฤติกรรมการใช้ไฟของลูกค้า
Rapid Shutdown เป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ทำหน้าที่ลดแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ที่เข้าไปสัมผัสเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ขณะที่ Power Optimizer เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มการผลิตไฟฟ้าได้เป็นรายแผง ตั้งแต่ฝั่งไฟฟ้ากระแสตรง แม้มีเงาบังหรือมีวัสดุกีดขวางที่หน้าแผง โดยทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสม ช่วยให้ระบบผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ
ได้ทั้งสองอุปกรณ์ แต่การติดตั้งพร้อมกับระบบโซลาร์เซลล์ตั้งแต่แรกจะมีความคุ้มค่าและสะดวกกว่า เนื่องจากลดค่าแรงในการติดตั้งและการเดินสายไฟใหม่ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ที่จะติดตั้งเพิ่มเติม หากสนใจกรุณาสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ กฟภ. ในพื้นที่เพิ่มเติม
ความประหยัดไฟฟ้า
ระบบ 1 เฟส
3 kW
ประหยัดได้ 1,500 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 6-8 แผง
5 kW
ประหยัดได้ 2,500 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 10-12 แผง
ระบบ 3 เฟส
5 kW
ประหยัดได้ 2,500 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 10-12 แผง
10 kW
ประหยัดได้ 5,000 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 17-24 แผง
15 kW
ประหยัดได้ 7,500 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 25-36 แผง
20 kW
ประหยัดได้ 10,000 บาทต่อเดือน
ใช้แผงโซล่าร์สำหรับติดตั้ง จำนวน 33-48 แผง
ทั้งนี้การประหยัดไฟขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าด้วย
* วิธีการคำนวณความประหยัดโดยประมาณ คิดจากกรณีแผงโซลาร์ผลิตไฟฟ้าที่ 5 ชม.ต่อวัน ที่ประสิทธิภาพของระบบโซล่าร์ 80% คูณด้วยค่าไฟเฉลี่ยหน่วยละ 5 บาท
ระบบ 1 เฟส
3 kW
ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 6,480 หน่วย/ปี
ใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
- หลอดไฟ 14 วัตต์ 10 หลอด
- ทีวี LED 42นิ้ว 3 เครื่อง
- ตู้เย็น 15 คิว 2 เครื่อง
- แอร์ 12000 BTU 2 เครื่อง
5 kW
ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 10,800 หน่วย/ปี
ใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้า
- หลอดไฟ 14 วัตต์ 20 หลอด
- ทีวี LED 42นิ้ว 5 เครื่อง
- ตู้เย็น 15 คิว 3 เครื่อง
- แอร์ 12000 BTU 4 เครื่อง
ระบบ 3 เฟส
5 kW
ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 10,800 หน่วย/ปี
ใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
- หลอดไฟ 14 วัตต์ 20 หลอด
- ทีวี LED 42นิ้ว 5 เครื่อง
- ตู้เย็น 15 คิว 3 เครื่อง
- แอร์ 12000 BTU 4 เครื่อง
10 kW
ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 21,600 หน่วย/ปี
ใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้า
- หลอดไฟ 14 วัตต์ 40 หลอด
- ทีวี LED 42นิ้ว 6 เครื่อง
- ตู้เย็น 15 คิว 3 เครื่อง
- แอร์ 12000 BTU 6 เครื่อง
การติดตั้งระบบ Solar Rooftop
- มีความปลอดภัย เนื่องจากการติดตั้งและควบคุมงาน ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญของ PEA
- มีการเลือกอุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานของ PEA และตามที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) กำหนด
- มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ตามข้อกำหนดและแบบมาตรฐานตามที่ PEA และ วสท. กำหนด
ได้ เช่น อาคารที่จอดรถ หรือ ที่มีโครงสร้างอื่นรองรับ แต่ทั้งนี้ควรมีการสำรวจพื้นที่หน้างานก่อนการตัดสินใจ
ได้ แต่โดยปกติ PEA จะออกแบบและติดตั้งให้ตรงตามขนาดของอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่ผลิตจากโรงงาน หากลูกค้ามีความต้องการติดตั้งไม่สอดคล้องกับขนาดของอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ตามมาตรฐานการผลิตจากโรงงาน ก็สามารถนำ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) 2 ตัว มาต่อร่วมกันเพื่อให้มีขนาดใกล้เคียงตามที่ลูกค้าต้องการได้
ได้ แต่ต้องมีโครงสร้างรองรับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหน้างาน โดยลูกค้าต้องให้ PEA เข้าสำรวจหน้างานก่อน
ติดตั้งได้ เนื่องจาก PEA มี Micro Inverter รองรับการให้บริการอยู่แล้ว
ข้อดี – ลดพื้นที่การติดต้ังภายในตัวอาคาร เนื่องจากไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะติดตั้งอยู่ใต้แผงบนหลังคา ทำให้มีความปลอดภัยสูง
ข้อเสีย – มีราคาแพงกว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) แบบธรรมดา
ทีมผู้เชี่ยวชาญของ PEA
ต้องเป็นเจ้าบ้าน หากไม่ใช่เจ้าบ้าน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้ติดตั้งจากเจ้าบ้าน และมีหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้เจ้าที่ PEA หรือผู้ที่ PEA มอบหมายใช้สำหรับดำเนินการขออนุญาตกับส่วนเกี่ยวข้อง
- บัตรประชาชนตัวจริง (เพื่อใช้สำหรับการขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานท้องถิ่น, กกพ.)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านขอติดตั้ง)
ขั้นตอนการให้บริการและขออนุญาต
การให้บริการของ PEA SOLAR มีขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นการให้บริการแบบครบวงจร โดยมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) ลูกค้าแจ้งความสนใจติดตั้ง : ผ่านสาขาของ PEA ทั่วประเทศ
2) สำรวจและออกแบบ : ดำเนินการโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก PEA
3) ชำระเงิน : ชำระยอดเต็มเป็นเงินสด หรือใช้บริการสินเชื่อจากพันธมิตรสถาบันการเงินของ PEA
4) ขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : PEA ดำเนินการให้ทุกขั้นตอน
5) ติดตั้งระบบ Solar Rooftop และเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ PEA : ดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก PEA
6) เริ่มใช้งานระบบ Solar Rooftop
7) การบำรุงรักษาระบบ : PEA ดูแลครบวงจรจนถึงบำรุงรักษา
การขออนุญาตตามที่กฎหมายกำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) แบ่งตามลักษณะการผลิตไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้
1) ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า (ระบบจำหน่ายไฟฟ้า/จำหน่ายไฟฟ้า)
- ขนาดน้อยกว่า 1,000 kWp จดแจ้งยกเว้น
- ขนาดมากกว่า หรือเท่ากับ 1,000 kWp ต้องขอใบอนุญาต
2) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4 ลำดับที่ 88)
- ขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 kWp ไม่ต้องขอใบอนุญาต
- ขนาดมากกว่า 1,000 kWp ต้องขอใบอนุญาต
3) ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) และใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.6) หรืออยู่ในเขตควบคุมอาคาร
- พื้นที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 160 ตร.ม. และน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 กก./ตร.ม. ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานในท้องถิ่นทราบ
- พื้นที่มากกว่า 160 ตร.ม. และน้ำหนักมากกว่า 20 กก./ตร.ม. ต้องขอใบอนุญาต
4) ใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2) พิจารณาจากขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ Inverter
- Inverter ขนาดรวมน้อยกว่า 200 kVA ไม่ต้องขอใบอนุญาต
- Inverter ขนาดรวมมากกว่า หรือเท่ากับ 200 kVA ต้องขอใบอนุญาต
- งานสำรวจออกแบบ 1 วัน
- งานติดตั้ง 2-3 วัน (PEA จะเริ่มเข้าดำเนินการติดตั้งภายใน 15-20 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับชำระเงิน)
- งานบำรุงรักษา 1 วัน
PEA มีแบบมาตรฐานการติดตั้ง จำแนกตามประเภทหลังคาได้ 4 ประเภท ดังนี้
1) เมทัลชีท
2) CPAC
3) ดาดฟ้า
4) ลอนคู่
การชำระเงิน
- ชำระเงินสดได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าที่ขอรับบริการ
- โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงานการไฟฟ้า
- เช็คสั่งจ่ายชื่อบัญชีธนาคารของสำนักงานการไฟฟ้า
ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อกับธนาคาร โดยมีเงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด